วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552


FTTH


โดยส่วนตัวผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบ Fiberoptic คือระบบสื่อสารผ่านเส้นใยแสง สมัยเรียนปริญญาเอกก็จะเน้นไปที่ระบบทางไกล เช่น โยงใต้ทะเลเป็นหลายพันกิโลเมตร ว่าจะทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้ยังไง หรือถ้ากำหนดความเร็วแล้วจะทำให้มันไปได้ไกลขึ้นได้อย่างไร แต่พอเข้ามาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ก็ได้ศึกษาและทำการวิจัยในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่โครงข่ายระดับ Fiber-optic ใหญ่เชื่อมโยงระหว่างเมืองจนถึงระดับ Access ซึ่งหนึ่งในโครงข่าย Fiber-optic ระดับ Access ที่ให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่มีในปัจจุบันนั่นก็คือ Fiber to the Home (FTTH)”



  • “ปัจจุบันที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือใช้อินเตอร์เน็ต ก็เป็นการใช้ผ่านระบบสื่อสาร แต่ระบบของแต่ละอันก็แยกจากกัน ซึ่งข้อมูลแต่ละระบบก็มีความแตกต่างกัน แต่ในอนาคตเราจะพยายามโยงทุกระบบให้มาอยู่ในลักษณะข้อมูลเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ต จะมาอยู่ในรูปแบบข้อมูลของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกัน เช่น Voice over IP IPTV และโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 (Mobile IP) เป็นต้น”
  • “นอกจากบริการที่เราเห็นกันทั่วไปแล้ว ในอนาคตเราพยายามจะทำให้ระบบทุกอย่าง เครื่องมือทุกอย่าง อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยตัวมันเอง เช่น บ้านเราอาจจะติดเซนเซอร์ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ขอบประตู เก้าอี้ ตู้เย็น ฯลฯ ก็จะสามารถสื่อสารข้อมูลได้ เช่นเราอยู่นอกบ้านเราสามารถดูผ่านมือถือได้ว่าหน้าต่างบานนั้นล๊อคหรือยัง สามารถตรวจสอบได้หมด นั่นคือจากบ้านเราสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วส่งข้อมูลมา เข้ามือถือเรา หรือสั่งอัดวีดีโอผ่านมือถือได้ หรือเช็คของในตู้เย็นได้เช่น นมหรือไข่หมดหรือยังเป็นต้น”

    “เมื่อทุกอย่างสามารถสื่อสารข้อมูลได้ โครงข่ายหรือระบบสื่อสารที่ใช้ต้องรับข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างปัจจุบันแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียวเรายังรู้สึกว่าระบบช้า ถ้าเกิดทุกอย่างสื่อสารหมดแม้แต่ประตูหน้าต่างก็สามารถส่งข้อมูลได้ก็จะยิ่ง มีปริมาณข้อมูลมหาศาล โครงข่ายที่ใช้ต้องรองรับข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นได้ ซึ่งระบบที่จะสามารถรองรับได้ก็คงต้องเป็นระบบเส้นใยแสงหรือ Fiber-optic ซึ่งปัจจุบันก็นำมาใช้กันแล้วอย่างโครงข่ายใต้ทะเล รวมทั้งโครงข่ายในเมืองก็เป็น Fiber-optic ดังนั้นในการที่จะให้ข้อมูลสื่อสารออกจากบ้านได้ทุกคน และมีความเร็วสูงตามที่ต้องการ ต้องมีตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว ดังนั้นจึงพยายามโยงเส้นใยแสงให้มาใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของ Fiber to the Home นั่นเอง”

    การศึกษาขั้นบุกเบิกของระบบ FTTH ในบริเวณกรุงเทพมหานคร (CAT)

  • Fiber to the Home คืออะไรและมีประสิทธิภาพมากเพียงไร
  • “Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”

  • ในปัจจุบันเริ่มมีผู้หันมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้รายใหญ่คือประเทศญี่ปุ่น
  • “ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำระบบนี้มา ใช้มากที่สุด คือเริ่มนำ Fiber to the Home มาทำเป็นระบบเชิงพาณิชย์ประมาณปี 2001 หรือ 2002 ปัจจุบันมีเกือบ 10 ล้านครัวเรือนที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ และราคาถ้าเทียบกับ ADSL ก็น่าจะแพงกว่าประมาณ 30% แต่ถ้าเทียบกับความเร็วที่ได้จะต่างกันเยอะมาก ส่วนอเมริกานั้นเนื่องจากนิยมใช้เคเบิลทีวีกันแพร่หลาย ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลอินเตอร์เน็ตจะผ่านระบบเคเบิลทีวี ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ส่วนเกาหลี จีน ก็เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น”

  • สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการริเริ่มระบบนี้กันบ้างแล้ว แต่ไม่เป็นการแพร่หลายมากนัก
  • “สำหรับประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังไม่บูมมาก จุดแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท Fiber to the Home ซึ่งเช่าสายเส้นใยแสงจากจากไฟฟ้า ให้บริการแถบสุขุมวิท สาธร ในความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วในมาตรฐานเก่าของ Fiber to the Home และยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายมากนัก แต่มีแนวโน้มจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทางการไฟฟ้าทั้ง 3 ภาคส่วนเองเริ่มสนใจที่จะนำมาใช้โดยกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนว่าการไฟฟ้า จะทำเองหรือจะให้บริษัทเอกชนรายไหนมาเช่าไปดำเนินการ ซึ่งผมก็เคยรับงานบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาศึกษาอยู่”

    “อย่างบริษัท CAT นี่ผมก็ไปทำการศึกษาออกแบบลงพื้นที่นำร่องให้เมื่อปีที่แล้วว่าถ้าจะทำใน กรุงเทพฯ ต้องลงทุนประมาณเท่าไร ตกถึงผู้ใช้บริการแล้วต้องจ่ายค่าใช้บริการเดือนละเท่าไร ซึ่งทางบริษัทก็สนใจพอสมควร เพราะอย่างไรก็ตามคาดว่าเทคโนโลยีนี้ต้องมาแทน ADSL อย่างแน่นอน ส่วน ToT นี่ทดลองวางจริงเลย โดยทำที่ภูเก็ตคาดว่าปีนี้จะลองให้บริการจริงเป็นพื้นที่นำร่อง และหน่วยวิจัยของ ToT ก็มีการซื้อชุดทดลองระบบ Fiber to the home นี้มาและวางแผนทำการทดลองว่าจะสามารถพัฒนาอะไรต่อได้บ้าง”

  • ระบบ Fiber to the Home จะเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยได้อย่างไร
  • “ถ้าจะทำให้ประเทศเรานิยมใช้ Fiber to the Home อย่างประเทศญี่ปุ่นนี่ ต้องผลักดันจากผู้ใช้งาน อย่างประเทศญี่ปุ่นจะมีโฆษณาว่าสามารถสั่ง VDO on Demand ได้ โดยต้องใช้ระบบ FTTH คนก็จะนิยมกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีของละเมิดลิขสิทธิ์ การไปเช่าวิดีโอมาดูจึงราคาแพงพอสมควร ดังนั้นจึงต้องดูว่าประเทศเราควรจะผลักดันบริการส่วนไหนจึงจะทำให้คนใน ประเทศมีความสนใจระบบนี้มากขึ้น พอคนสนใจบริการนั้นๆ เค้าก็จะเรียนรู้ว่าต้องใช้ระบบ FTTH จึงจะใช้บริการนั้นได้ ระบบนี้ก็จะมีคนสนใจและได้รับความนิยมขึ้นมา เช่นคนไทยอาจจะสนใจ HDTV (High Definition TV) คือทีวีที่มีความชัดมากๆ ซึ่งถ้าจะส่งผ่านสายเคเบิลธรรมดานี่เป็นเรื่องยาก ส่งผ่าน ADSL นี่แทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราอาจโปรโมต HDTV เมื่อคนสนใจก็จะมีการใช้ Fiber to the Home แพร่หลายขึ้น และอีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าคนน่าจะสนใจกันมากคือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งถ้าผ่านระบบ Fiber to the Home จะมีความเร็วสูงมาก การ Download ต่างๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น”

  • ประโยชน์ของ Fiber to the Home นอกจากจะเกิดกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปแล้ว ยังยังสามารถช่วยพัฒนาบริการทั้งหลายที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศได้ อีกด้วย
  • “อย่างเช่น การแพทย์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (Telemedicine) คือ เราอยู่ส่วนหนึ่งของประเทศเราสามารถปรึกษาแพทย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของประเทศ ได้ โดยการส่งรูป ส่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ ทั้งหลายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไปปรึกษาแพทย์แบบ Real time ได้ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดทางไกลที่ว่าต้องมีการควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งต้องใช้ข้อมูลสื่อสารแบบ Real timeในการดำเนินงานจำนวนมหาศาล หรือพวก E-education คือคนสอนอยู่อีกที่หนึ่งคนเรียนอยู่อีกที่หนึ่ง สอนโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้การสื่อสารข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นกัน ซึ่งถ้าระบบนี้มีการแพร่หลายและเชื่อมโยงไปทั่วทุกที่ก็จะช่วยในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชากร และพัฒนาประเทศได้”

    “นอกจากนั้นยังช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือเมื่อใช้ระบบ Fiber to the Home ก็มีความต้องใช้ Modem สำหรับ Fiber to the Home โดยเฉพาะเพื่อแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ซึ่งเมื่อมีการใช้แพร่หลายและเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องใช้ค่าใช้ จ่ายสูงเนื่องจากมีราคาแพง ถ้าเราสามารถผลิตเองได้ในประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศ ก็จะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้”

  • และอาจารย์ก็ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยจะต้องได้รู้จักและหันมาใช้ระบบ Fiber to the Home ในเร็ววันนี้แน่นอน
  • “สำหรับระบบ Fiber to the Home นี้คิดว่าจะแพร่หลายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยในกรุงเทพมหานครนี้คิดว่าคงจะแพร่หลายกันในระยะเวลาประมาณ 3 ปีนี้อย่างแน่นอน”

  • นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังได้ทำการวิจัยในส่วนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
  • “อย่างที่ได้กล่าวว่าจริงๆ ผมศึกษามาทางด้านการเชื่อมโยงระบบทางไกลเป็นพันๆ กิโลเมตร แต่เมื่อมาทำงานก็เน้นไปที่การโยงเครือข่ายจากบ้านไปยังชุมสายอย่าง Fiber to the Home รวมทั้งเน็ตเวิร์คซึ่งเป็นโครงข่ายในระดับเมือง นอกจากนั้นยังพัฒนาในส่วนที่เรียกว่า All optical signal processing หมายความว่าการประมวลผลสัญญาณในรูปแบบของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้ามายุ่ง ปกติตัวสัญญาณข้อมูลแสงนั้นทำให้มันช้า มันหยุด หรือจับใส่ฮาร์ดดิสก์เหมือนข้อมูลในรูปแบบของทางไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมทำคือทำการศึกษาว่าทำอย่างไรจะทำให้แสงมันช้า หรือจะหยุดเวลาของแสงได้อย่างไร หรือว่าทำอย่างไรจะแปลงความยาวคลื่นของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลย นี่คือสิ่งที่กลุ่มของผมทำการวิจัยอยู่ด้วย”

  • นอกจากนั้นอาจารย์ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยทางด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
  • “นอกจากทำในเรื่องพวกนี้แล้วผมยังฉีกแนวทำ เรื่องอื่นอีก คือระบบ Fiber-optic นี่โดยปกติต้องใช้สายในการส่งสัญญาณ ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับระบบใช้สายสัญญาณนั้น ผมก็ศึกษาวิจัยอยู่กับระบบไร้สายด้วย”

    “ในอนาคตที่พูดถึง Fiber to the Home แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตผ่านระบบที่เรียกว่าระบบไร้สายหรือ Wi-max บางท่านคงรู้จักระบบ Wi-fi ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่ง Wi-fi มีรัศมีประมาณ 30-100 เมตร แต่ Wi-max มีรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 75 Mbps เพราะฉะนั้นถ้ารัศมีกว้างขนาดนี้เราสามารถเล่นอินเตอร์เนตในรถได้ หรือใช้งานขณะเดินไปเดินมาได้ หรือถ้ามหาวิทยาลัยติดตั้งตัวส่งสัญญาณตัวเดียวนี่สามารถใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มของผมก็ทำวิจัยทางด้านนี้ด้วย ”

  • และสิ่งที่อาจารย์อยากจะฝากไว้ก็คือ
  • “ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้มีประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน คือประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากให้ทุกคนคอยติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้”


    X.25

    X.25 เป็นโพรโทคอลชนิดนึงที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบ WAN โดยเป็นแบบ PACKET-SWITCHEDมันจะทำงานในส่วนของ OSI MODEl Layer ที่ 1 - 3

    X.25 มีส่วนประกอบของการทำงานด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก่

    • DTE - ได้แก่อุปกรณ์ ตัวสุดท้ายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น TERMINAL,PC หรือ HOST ของเน็ตเวิร์ค
    • DCE - เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่าง PSE กับ DTE (DTE ไม่มีความสามารถในการติดต่อ กับ PSE ได้โดยตรงจะต้องทำผ่านตัวกลาง DCE ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาญ CLOCK ก่อนถึงจะส่งข้อมูลไปหา DTE ได้)
    • PSE - เป็นสวิตท์ที่ทำหน้าที่เป็น แอร์เรีย เน็ตเวิร์ค ขนาดใหญ่ โดยจะทำการส่งข้อมูลไปยัง DTE ด้วยโปรโตตอล X.25

    ในขณะเดียวกันเราจะ พบกับ PAD (Packet Assembler/Disassembler) ใน X.25 มันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่าง DCE กับ DTE ให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ โดย เมื่อมีการส่งข้อมูลจาก PSE จะส่งมาที่ DCE หลังจากนั้น ข้อมูลจะถูกส่ง ให้กับ DTE แต่ในขณะที่ส่ง DCE จะทำการส่งผ่าน PAD ก่อน โดย PAD จะทำหน้าที่ เป็นบัฟเฟอร์ ในการกรอง ข้อมูล โดยการตัดส่วน ของ HEADER ของ X.25 ออก ก่อน

    ข้อตกลงในการติดตั้งx.25 เมื่อ DTE 1ตัว ทำการร้องขอต่อส่วนการสื่อสารอื่น DTE จะทำการรับข้อตกลงหรือไม่รับก็ได้ ถ้ารับจะมีการทำงานในแบบ Full Duplex

    การเลือกเส้นทางการส่งข้อมูล ของ x.25

    มี 2 วิธี คือ

    • แบบ switched (SVCs) เป็นการเชื่อมต่อชั่วคราวใช้สำหรับถ่ายข้อมูลเป็นช่วงๆ ซึ่งวงจรที่ใช้ switched ได้แก่วงจร DTE ที่มี 2แหล่ง, maintain และTerminate

    โดยอุปกรณ์แต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารกัน

    • แบบ permanent (PVCs) เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรใช้สำหรับถ่ายข้อมูลที่การถ่ายโอนการบ่อยๆ ตัวPVCs ไม่ต้องการตัวสร้างและตัว Terminate.ดังนั้นทำให้ตัว

    DTEทั้งหลายสามารถที่เริ่มทำการส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องขอเพราะตัวสร้างทำงานตลอดเวลา

    โครงร่างส่วนประกอบของโพรโทคอล X.25

    ประกอบด้วย Packet-Layer protocol (PLP) ,Link access Procedure,Balanced (LAPB) และการติดต่อแบบอนุกรมอื่นๆเช่น (EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA 530 และG.703)

    แพ็คเกตและ เลเยอร์โพรโทคอล

    ด้วย Packet-Layer protocol (PLP) มีหน้าที่ในการควบคุมการแลกเปลี่ยน packet ระหว่างอุปกรณ์ dte มันจะทำงานในระดับที่สูงกว่า Logical link control 2 (LLC2) อันได้แก่ ระบบ Lan และ ISDN โดยทำงานในระดับ Link Access Procedure on the D channel (LAPD) การทำงานของ PLP มีการทำงาน 5 ลักษณ์ คือ call setup,data transfer,idle,call clearing,และ restarting

    • call setup จะใช้กันระหว่าง SVCs กับอุปกรณ์ DTE จะทำงานในวงจรพื้นฐานโดยจะเลือกวงจรหลักหนึ่งวงจรที่ใช้ในการเรียก call setup mode ส่วนตัวอื่นจะเป็น data transfer mode. ในวิธีนี้จะใช้กับ SVCs เท่านั้นไม่รวม PVCs.
    • Data transfer mode ใช้สำหรับถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ DTE 2 ตัวผ่านวงจรในอุดมคติ.ซึ่งในโหมดนี้ PLP ได้แบ่งเครื่องมือและตัวควบคุมออกเป็น bit padding , error และ flow
    • control ในวิธีนี้จะทำงานในวงจรพื้นฐานและใช้ได้ทั้ง PVCs และSVCs
    • Idle mode ถูกใช่เมื่อข้อมูลที่ถูกเรียกไม่มีในเส้นทาง มันจะทำการใช้เฉพาะเส้นทางพื้นฐาน ใช้ได้เฉพาะ svc
    • Restarting mode ใช้ในถ่ายโอนข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่าง อุปกรณ์ DTE และ อุปกรณ์ติดต่อ DCE จะทำงานในเส้นทางของ svc กับ pvc

    LAPB

    LAPB เป็นข้อมูลเชื่อมต่อโพรโทคอลให้บริหารการติดต่อและรูปแบบแพ็คเก็ตระหว่าง อุปกรณ์ DTEและ DCE. LAPB เป็น bit-oriented โพรโทคอล ซึ่งเฟรมนั้นจะถูกต้องตามต้องการและไม่มีข้อมูลผิดพลาดแน่นอน. เฟรม LAPB ทั้ง 3ชนิดประกอบด้วย ข้อมูล,ส่วนตรวจสอบ,ส่วนไม่นับ. เฟรมข้อมูล (I-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนบนของเลเยอร์และข้อมูลควบคุมบ่างส่วน. ฟังก์ชัน I-FRAME ประกอบด้วย ซีเควียนติง,ชาร์ตควบคุม,และส่วนหาและตรวจสอบข้อผิดพลาด. I-FRAME จะส่งพาหะและรับเลขลำดับ.เฟรมตรวจสอบ (S-FRAME) จะพาข้อมูลควบคุม.ฟังก์ชัน S-FRAME ประกอบด้วยส่งความต้องการและส่วนส่งพักตำแหน่ง,รายงานสถานะและรับรู้จาก I-FRAME . S-FRAME จะพาเฉพาะส่วนรับลำดับหมายเลข.ส่วนไม่นับ (U-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนควบคุม. ฟังก์ชัน U-FRAME ประกอบด้วยส่วนติดตั้งเชื่อมโยงและตัดการติดต่อ คล้ายๆตัวรายงานข้อมูล ERROR . U-FRAME จะพาเฉพาะหมายเลขที่ไม่เป็นลำดับ

    X.21bis

    X.21bis เป็นเลเยอร์โพรโทคอลทางกายภาพที่ใช้ใน X.25 โดยอธิบายในรูปของอิเล็กทรอนิกส์และรูปของเครื่องจักรที่ใช้ในระดับกลางๆ. X.21bis เป็นเครื่องมือกระตุ้นและระงับของอุปกรณ์เชื่อมต่อ DTEและ DCEในระดับภายนอกกลางๆ.ซึ่งมันจะสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด และมีความเร็วถึง19.2 kbps,และสัมพันธ์กัน,การส่งข้อมูลทางมีเดียร์เป็นแบบ full-Duplex มากกว่า 4เส้น

    -ช่วยให้ remote Device สามารถที่จะติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง

    -Packet Switching เป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ packet ของ HDLC data ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน

    -x.25 protocol ทำงานบน 3 Layer ล่าง บน OSI Layer

    -User ปลายทาง คือ DTE

    -อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE

    -Switching virtual circuits (SVCs) คล้ายกับระบบโทรศัพท์ กล่าวคือ Create Connection แล้วส่งข่าวสาร และ close connection เมื่อเสร็จสิ้น ซึ่งทุก DTE จะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกันบน Network

    -Permanent virtual circuits (PVCs) ค้ลายกับระบบคู่สายเช่า ใช้การเชื่อมต่อเต็มเวลา packet จะถูกส่งออกไปโดยไม่มีการ create connection ขึ้นก่อน

    -การสร้าง connection ใช้ SVC ทำโดย DTE ต้นทาง จะส่ง Call Request packet ซึ่งมีที่อยู่ของ DTE ปลายทางไปยัง Network และ DTE ปลายทางจะทำการตัดสินใจว่าจะตอบรับหรือไม่ ถ้าตอบรับก็จะส่ง Call Accepted packet กลับมา หรือถ้าไม่รับ จะส่ง Clear packet เมื่อต้นทางได้รับ Call Accepted packet แล้ว Virtual Circuit จะเกิดขึ้นทันทีแล้วจะเริ่มส่งข้อมูลกัน และเมื่อ DTE ใดต้องการยกเลิกการเชื่อต่อ ก็จะส่ง Clear Request packet ออกไปอีกฝั่งก็จะตอบรับด้วย Clear Confirmation packet

    -ทุก packet จะถูกทำเครื่องหมายด้วย Logical Channel Identifier (LCI) หรือ Logical Channel Numer (LCN) ซึ่งจะใช้เป็นตัวตัดสินใจหาเว้นทางที่เหมาะสมไปยัง DTE ปลายทาง

    -ขนาดของ packet จะมีตั้งแต่ 64byte ไปจน 4096 byte แต่ 128 byte คือ default

    -store-and-forward is nuture of Packet Switching

    -ปัญหาของ x.25 คือ Inherent Delay เพราะมาจากเทคนิค store-and-forward และยังต่อมีการจอง buffer ขนาดใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับ frame relay ที่จะไม่มีการ store แต่จะ switch หาเส้นทางที่เหมาะสมในทันที นอกจากนี้ x.25 ยังมีการตรวจสอบ Error ทุกครั้งที่ได้รับ packet และก่อนที่จะ switch ต่อไปอีกที่

    -เมื่อตรวจพบ Erroe apcket ตัว Switching จะยกเลิก packet นั้นออกไปทันที ส่วน DTE ปลายทางก็จะรอจน Time-Out แล้วส่งใหม่

    - x.25 เป็นจุดต้นกำเนิดของ frame relay หรือ Cell Relay

    ISDN คืออะไร

    Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน

    การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน

    บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท
    • Individual
      เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว



    • Corporate หรือ LAN
      เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน

    ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
    • ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
    • ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
    • สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
    เพิ่มเติม
    • กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
    • ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
    • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา

    วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ 60 ข้อ

    ข้อสอบ 60 ข้อ

    1. ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
    ก. 202.50.5.3
    ข.202.53.3.2
    ค. 202.29.57.2
    ง.202.29.52
    เฉลย ค. 202.29.57.2 ง.202.29.52

    2.ข้อใดคือ 0111110.1.00011000.10011011.01000010
    ก. 125.20.155.66
    ข. 125.24.155.66
    ค. 125.50.15.66
    ง. 120.25.55.58
    เฉลย ข. 125.24.155.66

    3. 42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
    ก. A
    ข. B
    ค. C
    ง. D

    4.IP Class A รองรับได้กี่ Host
    ก. 2^10 Host
    ข. 2^16 Host
    ค. 2^14 Hostง. 2^8 Host
    เฉลย ก. 2^10 Host

    5. IP Private Class C รองรับได้กี่ Host
    ก. 2^10 Host
    ข. 2^16 Host
    ค. 2^14 Host
    ง. 2^8Host
    เฉลย ง. 2^8Host

    6. คลาสของ Network ข้อใดคือ class A
    ก. N.N.N.H
    ข. N.H.H.H
    ค. N.H.N.H
    ง. H.H.H.N
    เฉลย ข. N.H.H.H

    7.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class C
    ก. N.N.N.H
    ข. N.H.H.H
    ค. N.H.N.Hง. H.H.H.N
    เฉลย ก. N.N.N.H

    8.Private IP Addresses Class B คือ
    ก. 192.168.0.0 through 192.168.255.255
    ข. 172.16.0.0 through 172.16.255.255
    ค. 10.0.0.0 through 10.255.255.255
    ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255
    เฉลย ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255

    9.Broadcast Address ของ Class C คือ
    ก. 255.255.255.254
    ข. 255.255.255.256
    ค. 255.255.255.255
    ง. 255.255.255.0
    เฉลย ค. 255.255.255.255

    10.ข้อใดคือ Private IP Address
    ก. 12.0.0.1
    ข. 172.20.14.36
    ค. 168.172.19.39
    ง. 172.33.194.30
    เฉลย ข. 172.20.14.36

    11.Subnet Mask ของ /17 คือ
    ก. 255.255.128.0
    ข. 255.248.0.0
    ค. 255.255.192.0
    ง. 255.255.248.0
    เฉลย ก. 255.255.128.0

    12.Subnet Mask ของ /25 คือ
    ก. 255.255.128.0
    ข. 255.255.255.128
    ค. 255.255.255.0
    ง. 255.255.255.240
    เฉลย ข. 255.255.255.128

    13.Subnet Mask ของ /20 คือ
    ก. 255.255.240.0
    ข. 255.240.0.0
    ค. 255.255.255.0
    ง. 255.255.255.240
    เฉลย ก. 255.255.240.0

    14.Network Mask ของ Class C คือ
    ก. 255.0.0.0
    ข. 255.255.0.0
    ค. 255.255.255.0
    ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ข.เฉลย ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ข.

    15.network Mask ของ Class C คือ
    ก. 255.0.0.0
    ข. 255.255.0.0
    ค. 255.255.255.0
    ง. ถูกทุกข้อ.เฉลย ค. 255.255.255.0

    16.สัญลักษณ์ของการ Mark คือ
    ก. #
    ข. \
    ค. .
    ง. /
    เฉลย ง. /

    17.CIDR คือ
    ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส
    ข. การจัดสรร IP แบบไม่แบ่งคลาส
    ค. การหาเส้นทางแบบไม่แบ่งคลาส
    ง. การจับรอดแคสสัญญาณข้อมูล แบบไม่แบ่งคลาส
    เฉลย

    18.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 3 Bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ
    ก. /21
    ข. /25
    ค. /27
    ง. /29
    เฉลย ค. /27

    19.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 5 Bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
    ก. /15
    ข. /17
    ค. /19
    ง. /21
    เฉลย ง. /21

    20.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 8 Bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
    ก. /16
    ข. /20
    ค. /24
    ง. /27
    เฉลย ค. /24

    21.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 5 Bit ของ Class A มี CIDR เท่ากับ
    ก. /13
    ข. /21
    ค. /30
    ง. ผิดทุกข้อ
    เฉลย ก. /13

    22.จำนวน Host ของการ Mark 4 Bit Class C เท่ากับเท่าใด
    ก. 2024 Host
    ข. 254 Host
    ค. 18 Host
    ง. 14 Host
    เฉลย ง. 14 Host

    23.จำนวน Host ของการ Mark 5 Bit Class C เท่ากับเท่าใด
    ก. 2 Host
    ข. 6 Host
    ค. 14 Host
    ง. 30 Host
    เฉลย ข. 6 Host

    24.จำนวน Subnet ของการ Mark 4 Bit Class A เท่ากับเท่าใด
    ก. 2 Subnets
    ข. 6 Subnets
    ค. 14 Subnets
    ง. 30 Subnets
    เฉลย ค. 14 Subnets

    25. จำนวน Subnet ของการ Mark 6 Bit Class B เท่ากับเท่าใด
    ก. 14 Subnets
    ข. 30 Subnets
    ค. 62 Subnets
    ง. 126 Subnets
    เฉลย ค. 62 Subnets

    26.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.224
    ก. 28 Hosts
    ข. 32 Hosts
    ค. 30 Hosts
    ง. 62 Hosts
    เฉลย ค. 30 Hosts

    27.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
    ก. 28 Hosts
    ข. 32 Hosts
    ค. 30 Hosts
    ง. 62 Hosts
    เฉลย ง. 62 Hosts

    28.จำนวนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
    ก. 4094 Hosts
    ข. 521 Hosts
    ค. 1024 Hosts
    ง. 128 Hosts
    เฉลย ก. 4094 Hosts

    29.ต้องการใช้ Subnet จำนวน 29 Subnet จะยืม (Mark) จาก คลาส A เท่าไดไหร่
    ก. 3
    ข. 4
    ค. 5
    ง. 6
    เฉลย ค. 5

    30.จากข้อ 29 Subnet Mask ที่แสดงคือ
    ก. 255.192.0.0
    ข. 255.255.255.248
    ค. 255.255.248.0
    ง. 255.248.0.0
    เฉลย ง. 255.248.0.0

    31.ข้อไดไม่ใช่ Sub network ID สำหรับเครื่องที่ใช้ IP Address หมายเลข 200.10.5.68/28
    ก. 200.10.5.56
    ข. 200.10.5.32
    ค. 200.10.5.64
    ง. 200.10.5.0

    32.ข้อใดคือ Network Address ของหมายเลข172.16.0.0/19
    ก. 8 Subnets ; 2,046 Hosts
    ข. 8 Subnets ; 8,198 Hosts
    ค. 7 Subnets ; 30 Hosts
    ง. 7 Subnets ; 62 Hosts

    33.ข้อใดคือ Subnet ของ IP address 172.16.210.0/22
    ก. 172.16.208.0
    ข. 172.16.254.0
    ค. 172.16.107.0
    ง. 172.16.254.192

    34.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 201.100.5.68/28
    ก. 201.100.5.31
    ข. 201.100.5.64
    ค. 201.100.5.65
    ง. 201.100.5.1

    35. ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 172.16.11.1/25
    ก. 172.16.112.0
    ข. 172.16.0.0
    ค. 17.16.96.0
    ง. 172.15.255.0

    กำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Sub network ID IP Usage และ Broadcast แลัวตอบคำถาม

    36.หมายเลยใด ไม่สามารถใช้ได้
    ก. 192.168.1.13
    ข. 192.158.1.226
    ค. 193.168.1.31
    ง. 192.168.1.253

    37.หมายาเลยใด เป็น Sub network Id ของ Subnet ที่ 00001000
    ก. 192.168.1.13
    ข. 192.168.1.226
    ค. 192.168.1.31
    ง. 192.168.1.253

    38.หมายเลขใด เป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 000010000
    ก. 192.168.1.13
    ข. 192.168.1.16
    ค. 192.168.1.31
    ง. 192.168.1.32

    39.หมายเลขใด เป็น Sub network ID ของ Subnets ที่ 001100000
    ก. 192.168.1.63
    ข. 192.168.1.45
    ค. 192.168.1.48
    ง. 192.168.1.111

    40.หมายเลขใด เป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
    ก. 192.168.1.63
    ข. 192.168.1.45
    ค. 192.168.1.48
    ง. 192.168.1.100

    41.หมายเลขใด เป็น IP Usage ของ Subnet ที่ 001100000
    ก. 192.168.1.50
    ข. 192.168.1.96
    ค. 192.168.1.81
    ง. 192.168.1.10

    กำหนด IP Address 102.168.1.1/27 จงคำนวณหา Sub network Id IP Usage และ Broadcast แล้วตอบคำถาม

    42. ข้อใดไม่เข้าพวก
    ก. 192.168.1.1
    ข. 192.16.1.95
    ค. 192.168.33
    ง. 192.168.1.124

    43.ข้อใดไม่เข้าพวก
    ก. 192.168.1.0
    ข. 192.168.1.06
    ค. 192.168.32
    ง. 192.168.1.159

    44.หมายเลขใด ไม่สามารถใช้ได้
    ก. 192.168.1.193
    ข. 192.168.1.161
    ค. 192.16.1.127
    ง. 192.168.1.60

    45.ข้อใดคือ IP Usage ของ Dub network 192.168.1.96
    ก. 192.168.1.0 -192.168.1.31
    ข. 192.168.1.65 - 192.168.1.04
    ค. 192.168.1.97 – 192.168.1.126
    ง. 192.168.1.95 – 192.168.1.127

    จงใช้ภาพด้านล่างตอบคำถามข้อ 46-50กำหนดให้ใช้ IP Private Network Class C 192.168.1.1NET_A :13 HostsNET_B :50 HostsNET_C :2 HostsNET_D :25 Hosts

    46.Net_D ควรใช้ / อะไร
    ก. /26
    ข. /27
    ค. /28
    ง. /29

    47.จาก Network ข้างต้น ใช้ Sub net mask อะไรจึงจะรองรับได้ทุก Network
    ก. /26
    ข. /27
    ค. /28
    ง. /29

    48.Net_C มีหมายเลย Sub net mask อะไร
    ก. 255.255.255.192
    ข. 255.255.255.254
    ค. 255.255.255.248
    ง. 255.266.255.252

    49.Net_B มีหมายเลข Subnet Mask อะไร
    ก. 255.255.255.192
    ข. 255.255.255.254
    ค. 255.255.255.248
    ง. 255.255.2555.252

    50.หากใช้ /26 หมายเลข Sub network IP ของ Network สุดท้ายคือ
    ก. 102.168.1.128
    ข. 192.168.1.192
    ค. 192.168.1.191
    ง. 192.168.1.255

    51.จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
    ก. Arq –a
    ข. Netstat
    ค. Nslookup
    ง. Tracert

    52. จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
    ก. Arp-a
    ข. Netstat
    ค. Nslookup
    ง. Ipconfig/all

    53.จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
    ก. Tracert-a
    ข. Netstat
    ค. Nslookup
    ง. Ipconfig/all

    54.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู computer Name คือ
    ก. Ipconfig
    ข. Nslookup
    ค. Nostname
    ง. Tracert

    55.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู IP และ Subnet Mask คือ
    ก. IPconfig
    ข. Nslookup
    ค. Hostname
    ง. Tracert

    56.การตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทางคือ
    ก. Ipconfig
    ข. Nslookup
    ค. Hostname
    ง. Tracert

    57.Destination Host Unreachable หมายความว่า
    ก. ติดตั้ง IP ที่ Host ไม่ถูกต้อง
    ข. ติดตั้ง Card LAN ไม่ถูกต้อง
    ค. Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับเครื่องที่ PING
    ง. HOST ไม่ถูกเชื่อมต่อกับระบบ

    58.Tracert คือ
    ก. การหาเส้นทางการเชื่อมต่อจากต้นทางไปปลายทาง
    ข. การหาเส้นทางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
    ค. การตรวจสอบสถานะของระบบเครือข่าย
    ง. ตรวจสอบความผิดพลาดของ Packet

    59.การเข้าหน้า CMD ทำอย่างไรในครั้งแรก
    ก. Start > run > cmd
    ข. Start > run > connand
    ค. Start > allprogram > accessories> command prompt

    60.ARP(Address Resolution Protocol) หรือหมายเลข LAN Card มีกี่ไบต์
    ก. 6 Bit
    ข. 16 Bit
    ค. 8 Bit
    ง. 32 Bit

    วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    Ethernet

    Ethernet

    Ethernetเป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD) เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้
    ที่มาของเนื้อหา: Thaiinternetwork

    วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    แบบทดสอบ 5 ข้อ

    1.Topology หมายถึงอะไร
    1.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์
    2.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายใน LAN
    3.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในอิเล็กทรอนิกส์
    4.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ ภายในเครือข่าย
    เฉลยคำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบาย
    โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง

    2.topology แบบใดที่ใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
    1.star topology
    2.ring topology
    3.bus topology
    4.mesh topology
    เฉลยคำถาม ข้อ 1. ถูกต้อง อธิบาย
    star topology
    ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์(Server)ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นและอุปกรณ์ที่เหลือ

    3. topology แบบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
    1.star topology
    2.ring topology
    3.bus topology
    4.mesh topology
    เฉลยคำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบาย
    โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone)

    4. topology แบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
    1.star topology
    2.ring topology
    3.bus topology
    4.mesh topology
    เฉลยคำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบาย
    โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง

    5.โทโปโลยีแบบ Hybrid เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใดเข้าด้วยกัน STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
    1.star topology ring topology
    2.star topology bus topology
    3.ring topology mesh topology
    4.star topology ring topology bus topology
    เฉลยคำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบาย
    โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน

    topology bus ring star mesh

    โทโปโลยี topology
    คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

    1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

    ข้อดี
    - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

    ข้อเสีย
    - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
    - การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

    2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

    ข้อดี
    - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
    - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
    - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

    ข้อเสีย
    - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
    - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

    3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

    ข้อดี
    - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

    ข้อเสีย
    - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

    4.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

    ข้อดี
    -สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด

    ข้อเสีย
    -ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง

    ที่มา : http;//www.guru.google.com